Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

“Solastalgia—Wild Tales” by Art Basel

ชวนดูงานภาพยนตร์ศิลป์จาก Art Basel ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้คนและเหตุการณ์แปลกตา ตลอดเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้
Entertainment / LIPS GARÇON

ขอพาการ์ซงห่างจากซีรีส์เรื่องยาวสักพัก แล้วมานั่งชมภาพยนตร์สั้นไปด้วยกันในงานภาพยนตร์ศิลป์ Art Basel ภายใต้โปรแกรมฉายที่ชื่อว่า Solastalgia—Wild Tales จากผู้กำกับทั่วโลกมาจัดฉายบนแพลทฟอร์มออนไลน์กันแบบฟรีๆ ทุกวันพุธ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 

     หลังจากที่ต้องประกาศงดจัดงานนิทรรศการในเมืองบาเซิล สวิตเซอร์แลนด์ ไปเพราะวิกฤตไวรัสที่เกิดขึ้น ล่าสุด Art Basel ผู้จัดงานจึงได้ตัดสินใจเปิดฟิล์มอาร์ตโปรแกรมออนไลน์ขึ้น ให้ผู้คนที่ชื่นชอบการเสพงานศิลปะได้มีตัวช่วยในการปลดปล่อยความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น ในชื่อโปรแกรมที่ถูกนิยามขึ้นมาใหม่ในยุคนี้ว่า “Solastalgia” ซึ่งมาจากคำว่า Solace และ Nostalgia เมื่อแปลรวมกันแล้วเลยมีความหมายที่ว่า ภาวะความคิดถึงที่ช่วยปลอบประโลมจิตใจ เข้ากับบรรยากาศของสถานการณ์ในปัจจุบันได้อย่างดี

     ฟิล์มอาร์ตในครั้งนี้รวบรวมเอาผลงานภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับความเชื่อ ความแปลกต่าง และความเป็นชายขอบที่เกิดขึ้นในสังคม จาก 8 ผู้กำกับฯ จากทั่วโลกมาจัดแสดงผ่านแพลทฟอร์มดิจิทัลของ Art Basel โดยเปิดให้ชมกันแบบไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และไม่จำเป็นต้องสมัครสมาชิก โดยจะปล่อยภาพยนตร์ออกมาในทุกๆ วันพุธ ตั้งแต่สิงหาคมไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายนนี้ 

     ณ ตอนนี้ Solastalgia—Wild Tales มีภาพยนตร์สั้นที่ฉายไปแล้วสองเรื่องด้วยกัน ก็คือ Explosion Ma Baby (2016) จากผู้กำกับ Pauline Curnier Jardin ว่าด้วยเรื่องเทศกาลของผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่จัดขึ้นเพื่อสรรเสริญแก่นักบุญเซบาสเตียน เราจะได้เห็นการแสดงออกถึงศรัทธาที่อาจจะดูแล้วไม่เข้าใจ

     อีกหนึ่งเรื่องก็คือ A Good Crisis (2018) จาก DIS ที่ชวนให้ตั้งคำถามว่าสุดท้ายแล้วในช่วงที่ทั้งโลกต้องพื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากเพิ่งผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ถือว่าเป็นวิกฤตการณ์ที่ดีหรือเปล่า ยังมีภาพยนตร์อีก 6 เรื่องที่จะทยอยถูกเพิ่มเข้ามาตามลำดับ ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีความน่าสนใจอย่างไร เราก็สรุปคร่าวๆ เอาไว้ให้แล้ว

Fall Frum Grace,
Miss Pipi’s Blue Tale
(2011)

Director : Kara Walker
Date : 26 สิงหาคม 


     ภาพยนตร์หุ่นเงาเวลา 17 นาทีจากจิตรกรร่วมสมัยชาวอเมริกันอย่าง Kara Walker ที่มีอัตลักษณ์ในการถ่ายทอดเรื่องราวที่เกี่ยวกับเพศ เชื้อชาติ และความรุนแรง เธอจึงได้หยิบเอาสิ่งที่ตัวเองถนัดมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวของเกาะแห่งหนึ่งที่ชาวผิวสีต้องตกเป็นทาสและถูกใช้ความรุนแรง ซึ่งอ้างอิงมาจากกฏหมายแบ่งแยกเชื้อชาติ Jim Crow Laws ของอเมริกาที่เคยบังคับใช้ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20

___________________________________

Painting with history
in a room filled with
people with funny
names 5 (2018)

Director : Korakrit Arunanondchai, Alex Gvojic
Date : 2 กันยายน

     แค่เห็นชื่อผู้กำกับเราก็ขอบอกไว้เลยว่าห้ามพลาดเด็ดขาด เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวที่มาจากประเทศไทย! จากฝีมือการกำกับของศิลปินมัลติมีเดียอาร์ตหนุ่มอย่างกรกฤตที่เคยได้ไปจัดแสดงผลงานของตัวเองมาแล้วในเทศกาล Biennale Art 2019 ซึ่งในผลงานกำกับภาพยนตร์ลำดับที่ห้าของเขา ยังคงได้ Alex มารับหน้าที่เป็นผู้กำกับร่วมอยู่เหมือนเดิม ครั้งนี้ทั้งสองคนเลือกเอาความเชื่อของคนไทยอย่างพญานาคมาเล่าเป็นภาพยนตร์ศิลปะที่เล่นกับแสงสี และเขายังได้หยิบจับเอาองค์ประกอบศิลป์หลายๆ จากนิทรรศการดังที่นำเสนอเรื่องราวของภูตผีอย่าง Ghost 2561 ที่กรกฤตเคยจัดแสดงไปแล้วด้วย

___________________________________

Psychopompe
(2011)

Director : Camille Henrot, 
Date : 9 กันยายน


     หากอยากลองเสพภาพยนตร์ที่แตกต่างจากที่เคยๆ ชมมา เราเชื่อว่าการ์ซงน่าจะชอบเรื่องนี้เพราะผู้กำกับสาวอย่าง Camilie Henrot เลือกใช้ดนตรีเข้ามาช่วยถ่ายทอดอารมณ์ของภาพยนตร์ โดย Psychopompe หรือที่แปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่าผู้นำของดวงวิญญาณ หยิบจับเอาเรื่องของนักวิทยาศาสตร์แฟรงก์เกนสไตน์หรือโพรมีธีอัสยุคใหม่จากผู้แต่ง Mary Shealley มาปัดฝุ่น และเล่าใหม่ผ่านการฉายภาพจากโปรเจ็กเตอร์ในสไตล์มินิมัล แต่สื่อความหมายได้ตรงไปตรงมา และเข้าใจง่าย

___________________________________

Wil-o-Wisp
(2018)

Director : Rachel Rose
Date : 16 กันยายน


     Rachel Rose พาเราย้อนกลับไปในช่วงยุค 60s ของอังกฤษ ไปสำรวจชีวิตของ Elspeth หมอรักษาโรคที่จะต้องเผชิญเรื่องราวต่างๆ ในฐานะแม่และภรรยา ซึ่งทำให้เราได้เห็นบทบาท และการดำเนินชีวิตผู้หญิงในยุคที่ความเชื่อแบบชายเป็นใหญ่ และภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้ถ่ายทอดภาพทัศนียภาพของอังกฤษในช่วงนั้นออกมาได้อย่างชัดเจน จนกลายเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราอินไปกับภาพยนตร์ได้อย่างไม่ต้องพยายาม และผลงาน Wil-o-Wisp ของเธอเองก็ยังเคยถูกนำเสนอออกมาในเวอร์ชั่นหนังสือและนิทรรศการแล้วอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานดังที่ไม่ควรพลาด

___________________________________

Fog Dog
(2020) 

Director : Daniel Steegmann Mangrané 
Date : 23 กันยายน


     ถ้าเป็นสายโมเดิร์นและมินิมัลตัวจริง Fog Dog น่าจะเป็นภาพยนตร์ที่ควรค่าแก่การรอคอย เพราะ Daniel Mangrané ผู้กำกับภาพยนตร์หนุ่มในวัย 43 ปี เลือกเอาสถาปัตยกรรมร่วมสมัยมาเป็นองค์ประกอบร่วมกับการจัดแสงและเงา ในการถ่ายทอดชีวิตประจำวันของสุนัขจดจัดที่อาศัยอยู่ในบริเวณ Institute of Fine Arts of Dhaka ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่คิดจะสนใจในชีวิตประจำวันแน่นอน Fog Dog เลยไม่ได้เป็นเพียงภาพยนตร์ภาพสวยเท่านั้น แต่ยังพาเราไปเปิดใจกับสัตว์สี่ขาเหล่านี้อีกด้วย

___________________________________

Western Rampart
(2018)

Director : Superflex
Date : 30 กันยายน


     ภาพยนตร์จากทีม Superfles ของสามหนุ่มศิลปินสุดเก๋าจากเดนมาร์กอย่าง Bjornstjerne Christiansen, Jakob Fenger and Rasmus Nielsen ที่สร้างเรื่องราวนิทานของเจ้าเห็ดยักษ์ขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนมุมมองและขอบเขตการรับรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ธรรมชาติสร้างและสิ่งที่มนุษย์สร้างเสียใหม่ ว่าทั้งสองสิ่งนี้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสวยงามได้ ผ่านสถานที่อย่าง Vestvolden ในโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก อีกหนึ่งสิ่งที่เราเชื่อว่า ทุกคนจะต้องประทับใจก็คืองานภาพ ที่พวกเขาถ่ายทอดความสวยงามของธรรมชาติรอบข้างได้อย่างสวยงามมาก ยิ่งส่งเสริมให้เจ้าเห็ดยักษ์ในเรื่องดูกลมกลืน และไม่อยู่ผิดที่ผิดทาง

┃Photos : Courtesy of Art Basel

Related Articles

29 April 2565

แวะไปเช็คอินที่ CDGRE ไลฟ์สไตล์คาเฟ่และร้านอาหารสุดเท่ ที่รวบตึงสามตัวท็อปของวงการอาหารและสตรีทแวร์ไว้ด้วยกัน

1 April 2565

แอบส่องแนวคิดและชีวิตในวันว่างของเจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ แห่ง BNK48

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้ เราได้อธิบายความหมายและวิธีการใช้คุกกี้ของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถเข้าใจแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือการเปิดเผย รวมถึงทางเลือกในการใช้คุกกี้ของเรา อ่านเพิ่มเติม