Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

‘ฟิลเลอร์เป็นก้อน’ ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยแพทย์ ผู้มีประสบการณ์ ปรึกษา ‘AIC CLINIC’

Beauty / Wellness & Aesthetic

นี่คือบทความเจาะลึกฟิลเลอร์ฉบับสมบูรณ์ที่อ่านจบแล้วตัดสินใจได้ทันที! ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจครั้งแรก หรือเคยมีประสบการณ์ทั้งดีและไม่ดีมาก่อนกับสารพัดปัญหา อาทิ ฟิลเลอร์เป็นก้อน ฟิลเลอร์บวมยุบ ขอให้เบาใจได้ว่าปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ เมื่อปรึกษาแพทย์ผู้มีประสบการณ์เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยและความสวยอย่างเป็นธรรมชาติ 

‘หมอบอย’ นายแพทย์พุฒิพงศ์ ภูมิสุวรรณ แห่ง AIC CLINIC และ พ่วงตำแหน่ง CMT แพทย์วิทยากรผู้สอนฟิลเลอร์ ระดับสูงสุดของเมืองไทย พร้อมบอกเล่าเรื่องราวฟิลเลอร์แบบเข้มข้นจัดเต็ม! ชนิดที่ว่ากำเงินไปจิ้มได้แบบไม่คลางแคลงใจ…เลเวลนั้นเลย!

LIPS: จุดสังเกตของ ‘สัญญาณแห่งวัย’ ที่ทำให้ใบหน้าดูมีอายุ 

นพ.พุฒิพงศ์: หลักๆ เป็นเรื่องของ ‘Volume Loss’ อธิบายตามหลักกายวิภาคศาสตร์ได้ง่ายๆ โดยให้มองเป็นลักษณะของภาพสามมิติ เมื่อมนุษย์อายุมากขึ้นจะเริ่มสูญเสียมวลกระดูกหรือที่เรียกว่า Bone Resorption โดยความชราจะเริ่มปรากฏผ่านชั้นกระดูก ขึ้นมาที่ชั้นกล้ามเนื้อ ไขมันและแสดงออกอย่างชัดเจนที่ชั้นผิวหนัง ดังนั้นคนทั่วไปที่ไม่เข้าใจหลักการก็มักจะพิจารณาที่ผิวหนังเป็นหลักว่าทำไมผิวหน้าดูโทรม ดูเหี่ยว ซึ่งเป็นปัญหาปลายทาง

แล้วใบหน้ามนุษย์จะมีทิศทางการหย่อนคล้อยแบบใด? เราแบ่งสัดส่วนของใบหน้าออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่าง โดยทิศทางการหย่อนคล้อยจะเป็นไปตามโครงสร้างกระดูกและเส้นเอ็นบนใบหน้า เริ่มจากใบหน้าส่วนกลาง (Midface) ไล่เข้าสู่ศูนย์กลางของใบหน้า จากนั้นทิศทางจะลงสู่ใบหน้าส่วนล่าง (Lower face) เพราะใบหน้าทั้งสองส่วนนี้มีการเคลื่อนไหวมากที่สุด

Aging Relates Bone Loss เมื่อมนุษย์อายุมากขึ้นจะเริ่มสูญเสียมวลกระดูกหรือที่เรียกว่า Bone Resorption

ดังนั้นการแก้ปัญหาโดยรวม ก็คือการเติมเต็มฟิลเลอร์บนใบหน้าส่วน Midface และ Lower face โดยให้สัมผัสถึงกระดูก จึงได้พัฒนาเทคนิคการเติมเต็มฟิลเลอร์ปรับรูปหน้าโดยเฉพาะที่เรียกว่า ‘Butterfly Lift’ ซึ่งมีหลักการง่ายๆ คือเติมเต็มเพื่อแก้ปัญหาการหย่อนคล้อยในทิศทางตรงกันข้าม ในลักษณะของการยกขึ้นและดันไปข้างๆ ซึ่งเทคนิคดังกล่าวเป็นการใช้เข็มปลายทู่ ทิ่มลงไปยึดที่จุดต่างๆ บนโครงกระดูกใบหน้าและเส้นเอ็นเพื่อช่วยปรับรูปหน้าและยกส่วนต่างๆ ของใบหน้าได้ดี

LIPS: หากยังไม่มีสัญญาณแห่งวัย เราเติมเต็มฟิลเลอร์เพื่อความงามได้หรือไม่

นพ.พุฒิพงศ์: ประเด็นนี้เราจัดอยู่ใน ‘Beautification’ ที่ไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาสัญญาณร่วงโรยแห่งวัย แต่ทำให้เขาดูสวยขึ้นและมีความมั่นใจมากขึ้น หลักการของการเติมเต็มฟิลเลอร์เพื่อ Beautification เป็นหลักการเดียวกับการแต่งหน้าที่ต้องอาศัยการไฮไลต์หรือเฉดดิ้ง เพื่อให้เกิดแสงเงาและสร้างมิติในจุดต่างๆ บนใบหน้า ซึ่งเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์และศิลปะขั้นสูง โดยเริ่มจากบริเวณกระดูกโหนกแก้ม ซึ่งสามารถพิจารณาเติมเต็มฟิลเลอร์ให้ดูคมชัดก็ได้ หรือดูเป็นธรรมชาติก็ได้แล้วแต่กรณี ต่อไปคือบริเวณมุมปาก คาง หรือริมฝีปาก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดที่สามารถทำให้ใบหน้าดูงดงามขึ้นได้

ปัจจุบันนี้เทรนด์ความงามในแวดวงศัลยกรรม เราให้ความสนใจกับการคงอัตลักษณ์ของตัวเอง เป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดูดีขึ้น และแนวโน้มการรักษาจะต้องไม่บาดเจ็บมาก ผลลัพธ์ดูเป็นธรรมชาติ และปลอดภัยในระยะยาว ซึ่งหมายถึงเติมเต็มอะไรเข้าไปต้องสลายออกได้

เคสฉีดฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า คุณฝ้าย แอมฟายน์

ยกตัวอย่างทรงปากที่คนนิยมเติมเต็ม หลายครั้งเราได้ยินว่าทรงบาร์บี้ ทรงเชอร์รีลิปส์ ทรงคลาสสิก ฯลฯ ซึ่งเป็นชื่อเรียกทางการตลาด แต่สุดท้ายการเติมเต็มให้สวยงามอย่างเป็นธรรมชาติก็ควรจะยึดทรงริมฝีปากเดิมเป็นที่ตั้ง แล้วดึงจุดเด่นเพื่อสร้างมิติสัดส่วนที่สวยงามมากขึ้น หากอยากได้ริมฝีปากปากแบบเซเลบดารา แต่จมูกไม่ใช่ คางไม่ใช่ มุมปากไม่ใช่ ก็เป็นไปได้ยาก ควรคำนึงถึงความงามแบบธรรมชาติดีที่สุด

ดังนั้นการเติมเต็มฟิลเลอร์เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาสวยงามในแบบฉบับของตัวเราเอง แพทย์ต้องชำนาญการใน 3 ประเด็นหลักๆ ทั้งในเรื่องกายวิภาคศาสตร์ งานวิจัยในผลิตภัณฑ์ และ Beauty Perspective หรือมุมมองทางด้านความงามที่ถูกต้องอีกด้วย

LIPS: ปัญหาที่พบได้หลังเติมเต็มฟิลเลอร์มีอะไรบ้าง และพบได้ในบริเวณใด

นพ.พุฒิพงศ์: เรียงลำดับตามความรุนแรงดังนี้

  1. เสียชีวิต ซึ่งในหลายๆ เคสไม่ได้ตกเป็นข่าว อย่างเคสที่มีคนไปเติมเต็ม ‘ขมับ’ แล้วฟิลเลอร์เข้าสู่เส้นเลือดและอุดตันสมองจนเสียชีวิต
  2. ตาบอด มีคนเข้าใจผิดว่าสาเหตุมาจากการเติมเต็มใต้ตา แต่จริงๆ แล้วเกิดจากการเติมเต็ม  ฟิลเลอร์ที่ ‘หน้าผากและจมูก’ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ส่วนการเติมเต็มใต้ตาจะไม่ทำให้เกิดตาบอด 
  3. เนื้อตาย ส่วนใหญ่เกิดจากการเติมเต็ม ‘ร่องแก้มและมุมปาก’ โดยบริเวณร่องแก้มมีเส้นเลือดที่เลี้ยงบริเวณปีกจมูก ดังนั้นหากเติมเต็มผิดวิธีก็สามารถส่งผลต่อกระดูกอ่อนบริเวณปีกจมูก ทำให้เกิดการยุบ แหว่ง และผิดรูปขึ้นได้
  4. กรณีที่ไม่เป็นอันตรายแต่ส่งผลต่อความสวยงาม เช่น เติมเต็มมากเกินไปจนเกิดก้อนบวม ที่เรียกว่า ‘Facial Overfilled Syndrome’ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ที่ฟิลเลอร์เป็นที่นิยม หลายคนจึงให้แพทย์เติมเต็มเข้าไปจำนวนมาก ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจผิด เติมแค่ให้สวยเป็นธรรมชาติก็เพียงพอแล้ว ซึ่งกรณีนี้พบได้ทั่วทั้งใบหน้าเลย อย่างหน้าผาก ที่ชาวเน็ตชอบไปเปรียบเทียบว่าหน้าผากเป็นปลาหมอสี ปากบวม แก้มบวม หรือคางที่ยื่นยาวเป็นแม่มด และในบริเวณพบมากที่สุดคือบริเวณใต้ตา ส่งผลให้ใต้ตาเป็นก้อน
  5. ปัญหาการบวมๆ ยุบๆ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายส่งผลต่อฟิลเลอร์ที่อยู่บนใบหน้า บางครั้งเติมเต็มไปแล้ว 3 เดือนไม่เป็นอะไร แต่พอเดือนที่ 4 เกิดอาการดังกล่าวก็มี

Beautification ใช้หลักการเดียวกับการแต่งหน้า ที่ต้องอาศัยการไฮไลต์หรือเฉดดิ้ง เพื่อให้เกิดแสงเงาและสร้างมิติในจุดต่างๆ บนใบหน้า

LIPS: ปัญหาอันดับหนึ่ง ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนเพราะอะไร

นพ.พุฒิพงศ์: ปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนเกิดได้หลายสาเหตุ 

สาเหตุที่ 1 เติมเต็มในชั้นที่ตื้นเกินไป ทั้งที่บริเวณนั้นอาจเป็นจุดที่ควรเติมเต็มในชั้นลึก จึงปรากฏออกมาเป็นก้อน จะเรียกว่า เกิดจากเทคนิคการฉีดที่ไม่ถูกต้องก็ได้

สาเหตุที่ 2 การเลือกใช้ฟิลเลอร์ผิด ซึ่งในท้องตลาดมีฟิลเลอร์มากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็เหมาะที่จะเติมเต็มในบริเวณที่แตกต่างกันออกไป อย่างจุดที่มีผิวบางควรเลือกใช้ฟิลเลอร์แบบ Soft Filler ที่มีโมเลกุลเล็ก แต่หากไปใช้ฟิลเลอร์เนื้อหนาหรือหนักก็ส่งผลให้เป็นก้อนได้ เช่นเดียวกับคุณสมบัติจำเพาะของฟิลเลอร์บางชนิดที่สามารถดูดน้ำได้ดี พอเติมเต็มเข้าไปก็เกิดการบวมได้

สาเหตุที่ 3 Facial Overfilled Syndrome การเติมเต็มที่มากเกินควร ซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดของคนไข้เอง หรือถูกหลอกขายเพื่อให้ฉีดจำนวนมากๆจากเจ้าหน้าที่การตลาดซึ่งได้ค่าคอมมิสชั่น

LIPS: วิธีการและเทคนิคแก้ไข ‘ฟิลเลอร์เป็นก้อน’ ทำอย่างไรให้สวยเป็นธรรมชาติ

นพ.พุฒิพงศ์: มีความเชื่อผิดๆว่า หากฟิลเลอร์เป็นก้อนไม่ต้องไปสลายเพราะสามารถสลายเองได้ แต่สิ่งที่ถูกต้องคือ แม้ร่างกายมีกระบวนสลายตามธรรมชาติ แต่หากฟิลเลอร์อยู่ผิดที่…นานกี่ปีก็ไม่หาย เพราะที่จริงไม่ใช่ทุกบริเวณที่จะสลายอย่างบริเวณหัวตา ซึ่งไม่ควรมีช่องว่างแต่ไปเติมเต็มให้มันเกิดช่องว่างขึ้นมา ร่างกายก็ไม่สามารถสลายได้

การฉีดสลายฟิลเลอร์ที่บวมเป็นก้อน เราจะใช้ Hyaluronidase (ไฮยาลูโรนิคเดส) เอนไซม์ชนิดเดียวกับที่ร่างกายมนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อสลายสาร Hyaluronic Acid ตามธรรมชาติ เมื่อฟิลเลอร์ที่เป็น Hyaluronic Acid โดนตัวเอนไซม์ก็จะกลายเป็นน้ำ หายไปกับระบบน้ำเหลืองในร่างกาย

“แพทย์ต้องชำนาญการใน 3 ประเด็นหลักๆ ทั้งในเรื่องกายวิภาคศาสตร์ งานวิจัยในผลิตภัณฑ์ และมุมมองทางด้านความงามที่ถูกต้อง”

เมื่อเรารู้แล้วว่าร่างกายก็มีการสร้าง Hyaluronic Acid ตามธรรมชาติ หากเติมเต็มเอมไซม์เข้าไป ตัวเอนไซม์จะไปรบกวน Hyaluronic Acid ตามธรรมชาติที่ไม่ใช่จากฟิลเลอร์หรือไม่ คำตอบคือใช่! มีการสลายตามธรรมชาติได้บางส่วน แต่สุดท้ายร่างกายก็ผลิตขึ้นมาทดแทนได้ทุกวัน ดังนั้นให้พิจารณาเอาปัญหาฟิลเลอร์ที่เป็นก้อนออกไปให้เร็วที่สุดก่อน

เทคนิคการฉีดสลาย ‘ฟิลเลอร์เป็นก้อน’ 

แพทย์ต้องรู้ก่อนว่า ฟิลเลอร์ที่เติมเต็มเป็นยี่ห้ออะไรหรือชนิดไหน อย่างฟิลเลอร์ชนิดแข็งจะสลายได้ยากมากขึ้นกว่าชนิดอ่อน จากนั้นต้องรู้ว่าฟิลเลอร์ชนิดนั้นๆ เติมเต็มบริเวณโครงสร้างชั้นใดบ้าง ซึ่งแพทย์ต้องไล่ฉีดสลายให้ครบทุกชั้น บางครั้งต้องยอมรับว่าไม่สามารถสลายได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากไม่รู้ว่าแพทย์ผู้ทำการเติมเต็มก่อนหน้านั้น ได้กระจายตัวฟิลเลอร์ไปบริเวณโครงสร้างชั้นใดบ้าง แม้ว่าจะเหลือฟิลเลอร์ที่สลายไม่หมดอยู่นิดหน่อย เราก็สามารถเติมเต็มเข้าไปใหม่ให้เกิดความเรียบเนียนและสวยงามขึ้นได้

รีวิวแก้เคสยาก! ฟิลเลอร์เป็นก้อน และร่องใต้ตาจากฟิลเลอร์เก่า

กระบวนการหลังจากฉีดสลาย ‘ก้อนฟิลเลอร์’ จะสามารถยุบได้ทันที แต่ก็จะยุบต่อไปเรื่อยๆ อีก ซึ่งผลลัพธ์ปรากฏชัดเจนที่สุดในวันที่ 7 หลังการฉีด หากอยากเติมเต็มฟิลเลอร์ตัวใหม่เพื่อความสวยงามก็ควรรอ 7 วันเช่นกัน

LIPS: แต่ละเคสมีวิธีแก้ไขเหมือนกันไหม คุณหมอวิเคราะห์อย่างไร

นพ.พุฒิพงศ์: แตกต่างกันในเรื่องของปริมาณและจำนวนครั้งที่มาฉีดสลาย บางคนเติมเต็มฟิลเลอร์ที่มีเนื้อเหนียวแข็งและเติมเต็มมากเกินไป จึงทำให้ไม่สามารถสลายได้หมดภายในครั้งเดียว ซึ่งหมอเคยมีเคสคนไข้ที่ไปเติมเต็มฟิลเลอร์บริเวณหน้าผากมากกว่า 10 หลอด หมอต้องฉีดสลายทั้งหมด 4 ครั้งจึงจะหมด

“การเติมเต็มฟิลเลอร์มากเกินไปจนเกิดก้อนบวม เรียกว่า Facial Overfilled Syndrome ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยมากที่สุด” 

LIPS: ข้อควรระวังที่เราต้องรู้ ก่อนตัดสินใจเติมเต็มฟิลเลอร์

นพ.พุฒิพงศ์: ด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้ต่างๆ ปัจจุบันการเติมเต็มฟิลเลอร์จึงไม่มีข้อจำกัด หรือข้อควรระวังอะไร สามารถเติมเต็มได้ทันที แต่ต้องแน่ใจว่าเลือกชนิดของฟิลเลอร์ให้ถูกต้องกับบริเวณที่ต้องการเติมเต็ม และที่สำคัญต้องมั่นใจว่าแพทย์จะที่ฉีดให้เรามีความรู้ความชำนาญจริง

LIPS: การดูแลตัวเองหลังการเติมเต็มฟิลเลอร์แล้ว

นพ.พุฒิพงศ์: แนะนำว่าอย่าเพิ่งออกกำลังกายหนักๆ และไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ใน 3 วันแรกหลังเติมเต็มฟิลเลอร์ หลังจากนั้นจะไปออนเซ็น ซาวน่า หรือออกกำลังกายก็ได้ตามปกติ แต่ระวังต้องไม่ให้น้ำหนักเพิ่มหรือลดเกิน 5 กิโลกรัม เพราะถ้าน้ำหนักเปลี่ยนมากเกินไป โครงสร้างทางไขมันจะเปลี่ยน ส่งผลต่อการเติมเต็มฟิลเลอร์ด้วย รวมถึงอยากให้ความรู้ว่าฟิลเลอร์จะเข้าที่ประมาณ 4 สัปดาห์ ซึ่งหลังจาก 4 สัปดาห์ไปแล้ว หากรู้สึกว่าจุดที่เป็นปัญหายังไม่เต็มดี         ก็สามารถมาเติมเต็มได้อีก

ส่วนเรื่องอาหารการกินที่เคยได้ยินว่า หากทำหัตถการหรือทำศัลยกรรมมา ห้ามกินของแสลงจำพวก หน่อไม้ ส้มตำ ของดอง ฯลฯ อันนี้ไม่ได้ห้าม ไม่ส่งผลต่อการเติมเต็มฟิลเลอร์

“แม้ร่างกายมีกระบวนสลายตามธรรมชาติ แต่หากฟิลเลอร์อยู่ผิดที่…นานกี่ปีก็ไม่หาย”

LIPS: ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับฟิลเลอร์ที่พบบ่อยที่สุดคืออะไร

นพ.พุฒิพงศ์: อันดับแรก คือฟิลเลอร์ไม่ได้สลายเองทุกบริเวณ / อันดับที่ 2 คือฟิลเลอร์ไหล ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจผิด ความเชื่อที่ถูกคือฟิลเลอร์ไม่มีทางไหล หากแพทย์ชำนาญการรู้ชนิดของฟิลเลอร์ที่เหมาะสมกับบริเวณที่เติมเต็มและใช้เทคนิคที่ถูกต้อง รวมถึงเลือกยี่ห้อฟิลเลอร์ที่มีความน่าเชื่อถืออย่าง Restylane เป็นต้น ผลลัพธ์ออกมาจึงวางใจได้ 

อันดับ 3 ที่เข้าใจกันผิดคือ มักคิดว่าการเติมเต็มไขมันปลอดภัยกว่าการเติมเต็มด้วยฟิลเลอร์ ซึ่งในอดีตนิยมเติมเต็มไขมันเพราะว่าฟิลเลอร์มีราคาสูง และต้องยอมรับว่าฟิลเลอร์สมัยก่อนคุณภาพไม่ดีเท่าสมัยนี้ ปัจจุบันเมื่อนวัตกรรมและองค์ความรู้ในการเติมเต็มพัฒนามากขึ้น จึงเห็นถึงปัญหาว่าการเติมเต็มไขมันทำได้ที่บริเวณชั้นตื้น ไม่สามารถเติมเต็มสัมผัสกระดูกได้เพราะไขมันจะตายหมด และผลลัพธ์ของการเติมเต็มในชั้นตื้นก็คือใบหน้าดูไม่มีมิติ จะมีลักษณะบวมๆ กลมๆ เหมือนลูกโป่ง โดยเฉพาะบริเวณหน้าผากจะสังเกตเห็นได้ง่ายมาก

“AIC CLINIC เป็น Restylane Excellence Training Center หรือศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสอนเติมเต็มฟิลเลอร์เจ้าเดียวในไทยที่ใช้ฟิลเลอร์ยุโรปเกรดพรีเมียมอย่าง Restylane”

การเติมเต็มไขมันจะทำให้ใบหน้าบวมมาก เพราะต้องเติมเต็มในปริมาณเยอะ เช่น เติมไป 10 ซีซี จะเหลือไขมันอยู่สัก 2 ซีซี ที่เขาเรียกว่า ‘ไขมันไม่ติด’ จึงต้องไปเติมซ้ำๆ และทุกครั้งที่เติมก็จะบวมแล้วพักหน้าไป 2 อาทิตย์ จากนั้นก็ไปเติมใหม่แล้วก็บวม เป็นแบบนี้วนไปเรื่อยๆ 

และหากไม่พอใจในผลลัพธ์จากการเติมเต็มด้วยไขมัน แล้วอยากมาฉีดสลาย บอกเลยว่าฉีดไม่ได้ เพราะการฉีดสลายทำได้เฉพาะฟิลเลอร์ที่เป็นสาร Hyaluronic Acid เท่านั้น ดังนั้นหากใครที่กำลังตัดสินใจเติมเต็มไขมันอยากให้ศึกษาดีๆ เสียก่อน

ส่วนอันดับสุดท้ายคือยี่ห้อฟิลเลอร์ แต่ละยี่ห้อมีความน่าเชื่อถือที่แตกต่างกัน AIC CLINIC เป็น Restylane Excellence Training Center หรือศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสอนเติมเต็มฟิลเลอร์เจ้าเดียวในไทยที่ใช้ฟิลเลอร์ยุโรปเกรดพรีเมียมอย่าง Restylane เท่านั้น ซึ่งในผลสำรวจพบว่า ยอดขายของยี่ห้อนี้เฉพาะในประเทศไทยสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก นั่นแสดงถึงความนิยมและคุณภาพ 

รวมถึง Restylane มีฟิลเลอร์หลากหลายชนิดครอบคลุมการเติมเต็มในทุกบริเวณ ยกตัวอย่างคำโฆษณาที่หลายๆ คลินิกมักชวนเชื่อว่า ฟิลเลอร์ยี่ห้อนี้ราคา 15,000 บาทอยู่ได้ 12 เดือน แต่ถ้าเพิ่มเงินเป็น 20,000 บาทอยู่ได้ 24 เดือน เป็นเรื่องการตลาดล้วนๆ เพราะเราไม่สามารถกะเกณฑ์เวลาเสื่อมสลายของฟิลเลอร์ได้จากยี่ห้อ เพราะฟิลเลอร์หนึ่งยี่ห้อ หนึ่งชนิดไม่ได้สามารถเติมเต็มได้ทุกจุดจะเหมารวมไม่ได้ ทาง AIC CLINIC ใช้ฟิลเลอร์ Restylane โดยแต่ละชนิดราคาเท่ากันหมด ซึ่งจะเติมเต็มบริเวณไหน ใช้ชนิดใดก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

“ลูกค้าทุกคนคือผลงานศิลปะที่ต้องออกไปสู่สายตาสาธารณชน คุณจะได้สิ่งที่เหนือกว่าและดูดีที่สุดในแบบฉบับของคุณเอง”

LIPS: เหตุผลที่ลูกค้าไว้วางใจคุณหมอและ AIC CLINIC มาอย่างยาวนานคืออะไร

นพ.พุฒิพงศ์: AIC CLINIC ยึดมั่นและเข้าใจลูกค้าอย่างสูงสุด เรามองว่าลูกค้าทุกคนคือผลงานศิลปะที่ต้องออกไปสู่สายตาสาธารณชน ดังนั้นทุกงาน ทุกเคส เราจะดูแลเอาใจใส่และตั้งใจเพื่อมอบผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม ไม่ว่าคุณจะลงทุนกับความงามไปเท่าไหร่ คุณจะได้สิ่งที่เหนือกว่าและดูดีที่สุดในแบบฉบับของคุณเอง 

Words: Varichviralya Srisai
Photos: Somkiat Kangsdalwirun 

Related Articles

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้ เราได้อธิบายความหมายและวิธีการใช้คุกกี้ของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถเข้าใจแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือการเปิดเผย รวมถึงทางเลือกในการใช้คุกกี้ของเรา อ่านเพิ่มเติม