Search
Close this search box.
Search
Close this search box.
HOME / Fashion

Contemporary Fashion Competition

ไปทำความรู้จักกับผู้ที่อยู่เบื้องหลังการประกวดแฟชั่นที่ถูกจับตามองกับ ผอ.โกวิท ผกามาศ
Fashion

ในแต่ละชาติพันธุ์ล้วนแล้วแต่มีศิลปวัฒนธรรมประจำถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยเรานั้น“ผ้าไทย” เป็นดั่งมรดกล้ำค่าทางศิลปวัฒนธรรมที่ถูกสืบสานผ่านภูมิปัญญามาช้านาน ในวันนี้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม นำโดย คุณโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ได้จัดโครงการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย (Contemporary Fashion Competition 2022) ภายใต้แนวคิด “ไทยใส่สบาย” สนับสนุนให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้มีเวทีแสดงความสามารถในการออกแบบเครื่องแต่งกาย โดยนำผ้าไทยอันเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์เป็นผลงานเครื่องแต่งกายร่วมสมัยที่เล่าขานถึงความเป็นอารยชน

“ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น (Fashion) นับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เป็น “Soft Power” สำคัญในกลุ่ม 5F อันประกอบไปด้วย ‘Food’ อาหารไทย ‘Fighting’ มวยไทย ‘Film’ภาพยนตร์ไทยและ ‘Festival’ กิจกรรม และประเพณีต่างๆ ที่รัฐบาลไทยมุ่งยกระดับพร้อมขับเคลื่อน และด้วยในปี 2565 นี้ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม มีอายุครบรอบ 20 ปี กอปรกับเป็นปีมหามงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทาง สศร. จึงได้จัดโครงการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย (Contemporary Fashion Competition 2022) ภายใต้แนวคิด “ไทยใส่สบาย” และ โครงการพัฒนาผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้ อย่างยิ่งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง”

ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวถึงเรื่องราวความเป็นมาของโครงการอันเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนและผลักดันอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ให้ก้าวไปอีกขั้นด้วยรอยยิ้ม

“สำหรับโครงการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย เราได้ร่วมมือกับ 6 สถาบันการศึกษาชื่อดังในการส่งเสริมและเผยแพร่งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย ผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเพิ่มพูนภูมิปัญญาและต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมภายใต้กิจกรรมนี้  โดยเชิญชวนเหล่านักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไปส่งชิ้นงานเข้ามาประกวด ซึ่งผลงานในปีนี้ล้วนแล้วแต่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ด้วยเป็นการนำอัตลักษณ์ของท้องถิ่นไทยมานำเสนอได้อย่างมีชั้นเชิง

…อย่าง การนำชามตราไก่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดลำปางมาเป็แรงบันดาลใจในการออกแบบ หรือการนำผ้าฝ้ายจากจังหวัดเลยที่มีความโดดเด่น มาออกแบบตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าที่สามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน สวมใส่สบายทั้งผู้ชาย และผู้หญิง เป็นต้น ถือเป็นพัฒนาการสำคัญของนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่มีความกล้าที่จะดีไซน์ มีความกล้าที่จะพัฒนางานของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันในเชิงของผ้าบาติก ในโครงการพัฒนาผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้ เราได้มีการเชิญดีไซเนอร์ อย่าง ธีระ ฉันทสวัสดิ์ และ เอก ทองประเสริฐ ลงไปในพื้นที่ ร่วมพูดคุย พร้อมทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ก่อเกิดเป็นผลงานที่ยึดโยงวิถีของชาวใต้เข้ากับการออกแบบที่มีความร่วมสมัยเป็นสากล สามารถเพิ่มคุณค่าและสร้างมูลค่าได้ในปัจจุบันและเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง เมื่อผ้าบาติกของประเทศไทยได้ก้าวไกลไปอีกขั้น ด้วยลายบาติกได้ถูกนำไปทำเป็นชุดกิโมโนในประเทศญี่ปุ่นและเริ่มมีการวางจำหน่ายไปเมื่อไม่นานมานี้”

สำหรับผลงานทั้ง 2 โครงการ จำนวนประมาณ 50 ชิ้นงาน ได้ถูกนำมาจัดแสดงในงาน “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” ในส่วนของแฟชั่นโชว์สุดอลังการที่แสดงให้เห็นว่า ผ้าไทยเข้าถึงง่าย สวมใส่ได้ทุกเพศทุกวัยและใส่สบายในทุกวัน ทั้งยังมีนิทรรศการ การจัดสาธิต โดยมีดีไซเนอร์ชื่อดังระดับประเทศ ผู้เป็นคณะทำงานของโครงการทั้ง 2 โครงการ ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการสัมมนาเชิงวิชาการ เมื่อวันที่ 11-14 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน 

Related Articles

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้ เราได้อธิบายความหมายและวิธีการใช้คุกกี้ของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถเข้าใจแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือการเปิดเผย รวมถึงทางเลือกในการใช้คุกกี้ของเรา อ่านเพิ่มเติม